PLCช่วงชั้นที่3

PLC ช่วงชั้นที่ 3
7/2/2561



PLC ช่วงชั้นที่ 3

23/1/2561


PLC : 31 ต.ค.2560





Reflection สายชั้นมัธยม Week 10  วันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2560 เวลา 08.30.00 น. – 16.00 น.
ณ ห้องเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบ้านตะเคียนราม

ผู้นำวง : ครูธวัชชัย           ผู้จดบันทึก : ครูพรวิมล           ผู้บันทักภาพ : ครูอัครพล
เตรียมสภาวะจิต
ครูยะและครูเสก เตรียมสภาวะจิต ด้วยการรับรู้ที่ลมหายใจ และนำบทเพลงที่มีความหมาย แห่งกำลังใจ มาร่วมกันร้องเพลง
Share and learn
ครูเสก ชวนคุณครูพูดคุยทบทวน กิจกรรมตลอด Quarter ที่ผ่านมาด้วยการให้แต่ละคน เล่าเหตุการณ์ ในกิจกรรมจิตศึกษา หรือ pbl ที่สุด ตลอด 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา ให้เพื่อนพฟัง คนละ 1 เหตุการณ์
ครูเสกกระตุ้นด้วยคำถาม ให้คุณครูแต่ละคนได้ใคร่ครวญตัวเอง (Reflection)
นวัตกรรมจิตศึกษา
1) จิตศึกษามีคุณค่า/ความหมายต่อการสร้างการเรียนรู้ของเด็กอย่างไร
2) ครูมีบทบาทต่อการนำจิตศึกษาไปใช้ในชั้นเรียนอย่างไร
3) จิตศึกษา ทำให้ครูเปลี่ยนอย่างไร เด็กเปลี่ยนอย่างไร  ผู้ปกครองเปลี่ยนแปลงอย่างไร(ยกตัวอย่างรูปธรรม)
4) จิตศึกษา แก้ปัญหาของ รร./ครู /นักเรียน /ผปค ในเรื่องใดบ้าง
นวัตกรรม PLC
1)บทบาทของครูในการนำPLC ไปใช้ในชั่นเรียนใช้อย่างไร

2)ทำแล้วได้ผลอย่างไร ต่อตัวเอง/ผู้เรียน/องค์กร/ผปค. (กรณีที่เป็นรูปธรรม)
3)ครู/นักเรียน งอกงามอย่างไร  ช่วยพัฒนาตัวเอง นักเรียน หรือแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ /ได้อย่างไร
PBL
1)หลังจากนำ PBLครู /นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นครูโค้ช อย่างไร
2)ผลที่เกิดกับเด็ก เปลี่ยนแปลงอย่างไร มีปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์ใด ที่ชัดเจน
3)ครูมีบทบาท support นักเรียนอย่างไร หรือจัดการโครงสร้างอย่างไร ให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน PBL?
ครูทุกคนได้ใคร่ครวญ เพื่อสะท้อนตัวเองก่อนด้วยการเขียนเป็น Mind mapping นำเสนอ /แลกเปลี่ยนกับเพื่อนครู และจับคู่ สะท้อนกันและกัน
และแต่ละชั้นได้การบ้าน ในการนำกรณีที่อยากพัฒนาต่อหรือสิ่งที่ยังทำไม่ถึงเป้าหมาย ไปคิดต่อ เพื่อมาออกแบบกิจกรรม ใน PBL planning ในวันที่ 20-22 ตุลาคม 2560
Empower  : จับมือ ส่งพลัง ขอบคุณกันและกันด้วยความตั้งใจ



ตัวอย่างชิ้นงานการ Reflection ตัวเอง ของครูมัธยม

















PLRe



PLC สายชั้นมัธยม Week 6
วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560 เวลา 16.00 น. – 18.00 น.
ณ ห้องเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบ้านตะเคียนราม
ผู้นำวง : ครูสุริยะ  สมพร
ผู้จดบันทึก : ครูกิตติยา แสวงนาม
ผู้บันทักภาพ : ครูอัครพล มั่นดี


ขั้นเริ่ม
สร้างสภาวะจิต ด้วยการรับรู้ที่ลมหายใจ และนำบทความที่มีความหมาย เรื่อง "Active learning "มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
จากบทความเรื่อง Active learning คณะครูทุกท่าน มีความคิดเห็นอย่างไร
ครูไม้ : การเรียนรู้เกิดขึ้นอยู่ที่ตัวผู้เรียน ครูจะใส่อะไรที่ทำให้ผู้เรียนอยากเรียน
ครูกุ้ง: การเรียนรู้ ครูและนักเรียน เรียนรู้ไปด้วยกัน บางครั้ง ครูก็ต้องเรียนรู้จากเด็ก สังเกตพฤติกรรมเด็กให้เด็กได้ลงมือทำให้มากที่สุด และครูเป็นคนเชื่อม สอน และเรียนรู้ด้วย
ครูแจ็ค : การเรียนรู้ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ให้เด็กเข้าถึงตัวครู และมีการสะท้อนออกมาครับ
ครูวรวุฒิ: การเรียนรู้ในลักษณะ Active ควรมีการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน โดย เด็กแต่ละคนจะมีพลังภายใน สามารถคิดหาวิธีของแต่ละคนตามองค์ความรู้ของแต่ละคน ครู ควรเอาใจใส่เด็กที่น้อย เพื่อให้ทันเพื่อน

ขั้นกิจกรรม
Step 2.1  แต่ละคนนำชิ้นงานความงอกงามของนักเรียนและความงอกงามของตนเองมานำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ประเด็นในการ PLC “พฤติการมการทำงานของนักเรียน”
ค.จุ๋ม : ร่วมแลกเปลี่ยน วิชาคณิตศาสตร์ เด็กจะทำไม่ค่อยได้ ครูเลย ใส่ตัว catalyst เข้าไป ว่าถ้าอยากทำข้อสอบข้อนี้ได้ จะต้องมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง
ค.เทพ: ประสิทธิภาพในการทำงาน ผู้ชายจะไม่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ วิธีแก้ไข คือให้กำหนดตัวชี้วัดเข้าไปด้วย แต่ก็ได้ผลแค่ผู้หญิง แต่ผู้ชายก็เหมือนเดิม
ค.วรวุฒิ : เสนอแนวทาง ให้มองภูมิหลังของเด็ก และต้องมีการสร้างข้อตกลงให้กับเด็ก เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง เด็กบางคนอาจจะหลงประเด็น ครูเลยต้องให้คำแนะนำ
เป็นรายบุคคล และให้ผู้ปกครอง ร่วมดูด้วย
ค.กุ้ง : จะเจอสภาพปัญหาส่วนตัวของนักเรียน สร้างความกัลยานิมิตรกับผู้เรียน โดยการสังเกตุพฤติกรรม ของเด็ก ไม่มีปัญหาการอ่าน อ่านได้ 100 เปอร์เซ็นต์มีการเพิ่มทักษะการพูด การนำเสนอ จากเรื่องง่ายๆ  เช่น เขตรับผิดชอบทำความสะอาด สิ่งที่งอกงาม คือ ความรับผิดชอบ ฝึกให้เขาได้แสดงออก ด้วยตนเองด้านการสอน นำวิทยาศาสตร์มาสอนวันจันทร์ คอมมาสอนคาบบ่ายอังคาร และคณิตมาปรับพื้น และให้เด็กได้เล่นกีฬา สังคมประวัติศาสตร์ ศิลปะเป็นพฤหัสบดี เพื่อช่วยในการปรับอารมณ์
ค.แจ็ค : การฝึกสมาธิของเด็กโดยการทำกิจกรรมที่เขาชอบ เช่น วาดภาพลายเส้น (Drawing)ส่วน PBL ได้ให้ดูเหตุการณ์จากเนื้อเรื่อง ต้นข้าวแล้วให้นักเรียนไปแตกประเด็ก ด้วยตนเอง มีกำหนด เส้นทางความรู้ให้กับเด็ก
ค.ไม้ : เปรียบเทียบประสิทธิภาพเด็ก เริ่มมีพฤติกรรม แปลกๆ เช่น หลบเรียน มาสาย หลบแถว แนวคิดการแก้ปัญหา คือสร้างใหม่ ใส่ข้อมูล ด้านระดับที่ควรจะเป็นอาจจะต้องมีการย้ำบ่อยๆ
ค.วรวุฒิ: มีการประสานงานกับผู้ปกครอง ให้หาข้อตกลงร่วมกัน  เพื่อสร้างความรับรู้ร่วมกัน และเสนอปัญหาของเด็กเพิ่มเข้ามาคือเด็ก หลบเรียน

Step 2.2 แลกเปลี่ยน โดยนำปัญหาที่พบมาหาแนวทางร่วมเพื่อแก้ไข
แนวทางการแก้ปัญหา  ใช้ประเด็กปัญหาเรื่อง “การแก้ปัญหาพฤติกรรมของวัยรุ่น”
ค.วรวุฒิ : พูดคุยกันให้จบสร้างความเข้าใจกับเด็กไม่ซ้ำเติมเด็ก
ค.ไม้ : ปัญหาพฤติกรรมเด็กเกิดจากสภาพแวดล้อม ครูช่วยสร้างความเข้าใจ คุยกันและหาทางออกร่วมกันระหว่างนักเรียน และครู ช่วยทำให้เขามาเรียนก่อน
ค.แจ็ค : ใช้นโยบายโลกสวย แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ  ให้เวลาอยู่กับนักเรียน สร้างความสนิทสนม กับนักเรียนให้เกิดความวางใจ
ค.กุ้ง : ความอ่อนโยน อยู่ด้วยกันเยอะๆ ให้ความรักและความสำคัญกับทุกๆคน เรียกชื่อเขาบ่อยๆ และทำกิจกรรมร่วมกันทั้งห้อง สอนประสบการณ์ให้เขาด้วยอย่าไปซ้ำเติมในเรื่องเดิมๆ ของเด็ก ครูที่ปรึกษาช่วยกันคิดหาวิธีช่วยกัน
ค.เทพ : พฤติกรรมของเด็กเป็นไปตามวัย พยายามยกย่องเด็กที่ทำความดีให้มีบทบาทในห้อง
ค.จุ๋ม : พี่นิล ขาดเรียน รับกันกับ ลูกพี่ลูกน้อง ไม่ค่อยมาเรียน  วิธีการแก้ปัญหาพยายามตามถึงบ้าน

ประเด็นเพิ่มเติม
ค.วรวุฒิ :
- วันที่ 1-15 ก.ย. 60 สพฐ. จะมาเยี่ยมโรงเรียน
- วันที่ 12-14 ก.ย. 60 สถานีโทรทัศน์ Thai PBS จะมาถ่ายทำวีดีโอฝากให้ครูช่วยกันปฏิบัติตามวิถีของโรงเรียน เริ่มตั้งแต่ 07.30 น. ครู ควรจะต้องอยู่กับเด็กให้ได้ มีการรับเด็กหน้าประตู
- การรับส่ง นักเรียนของผู้ปกครอง และให้ครูได้ทบทวนวิถีของโรงเรียนใหม่
- เรื่องการทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน
- เตรียมผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน หากมีการสัมภาษณ์ จะได้ช่วยให้คำอธิบายในเชิงสร้างสรรค์
- วันที่  19 ก.ย. 60 กรรมการสถานศึกษา รร.บ้านพรหมเจริญ จะมาร่วมชมวิถีโรงเรียน ให้จัดผู้ปกครองวันละหนึ่งชั้นมาร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน อย่าให้ตรงกัน
- กิจกรรมแข่งทักษะวิชาการให้รีบส่งรายการกิจกรรม เพราะ 15-16 ก.ย. 60 นี้ จะใช้สถานที่ในการคัดเลือก

ขั้นจบ
            สร้างพลังสนามบวก ทบทวน ใคร่ครวญ พร้อมกับ Empower กล่าวขอบคุณกันและกัน พร้อมนัดหมายในการทำกิจกรรมในสัปดาห์ต่อไป







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น